พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ลำดับเหตุการณ์
- วันที่ 5 ธันวาคม 2488 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
- วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาประมาณ 9.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งพระที่นั่งบรมพิมาน เวลาต่อมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ว่าเป็น อุบัติเหตุโดยพระองค์[2] รัฐบาลมีประกาศว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์[3]
- ระหว่างช่วงเวลานี้ กลุ่มนิยมเจ้าและพรรคประชาธิปัตย์ ได้พยายามใส่ร้ายว่านายกฯปรีดี เป็นผู้อยู่เบื้องการลอบปลงพระชนม์[4]
- วันที่ 18 มิถุนายน 2489 รัฐบาลปรีดีประกาศตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีสวรรคต[5]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2489 เริ่มทำการชันสูตรพระบรมศพ
- วันที่ 19 สิงหาคม 2489 ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์
- วันที่ 23 สิงหาคม 2489 นายปรีดี ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคต พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา และทำการสืบคดีต่อไป
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เกิดการรัฐประหาร 2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลด้านการทุจริตของรัฐบาล และ ปัญหาเรื่องกรณีสวรรคตรัชกาลที่8 นายปรีดีลี้และพลเรือตรี ถวัลย์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ
- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 พันตรี ควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกต่อจากพลเรือตรีถวัยย์ และดำเนินการสืบสวนคดีสวรรคตต่อ
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2490 ตำรวจทำการจับกุมการจับคุมตัว นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว และได้ออกหมายจับนายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย ในฐานะผู้ต้องหาร่วมกันลอบปลงพระชนม์ในหลวงร.๘[6]
- วันที่ 8 ธันวาคม 2490 แต่งตั้งพ.ต.ท.หลวงแผ้วพาลชน เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ต่อมาเปลี่ยนตัวหัวหน้าฝ่ายสืบสวนเป็นพระพินิจชนคดี พี่เขยของม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งออกจากราชการไปแล้วให้กลับเข้ามาเข้ามาทำงาน[7]
- วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกแทนพันตรี ควง อภัยวงศ์ ตามมติคณะรัฐประหาร
- วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 นายปรีดี พยายามกลับไทยโดยก่อ กบฏวังหลวง ขึ้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และไม่ได้กลับมาอีกเลยตลอดชีวิต
- วันที่ 5 มิถุนายน 2493 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จกลับมาประเทศไทย เพื่อ ประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ, พระราชพิธีอภิเษกสมรส, และบรมราชาภิเษกแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- วันที่ 27 กันยายน 2494 ศาลชั้นต้นมีมติให้ประหารนายชิต ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม 2494 ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวร ระหว่างนั้นจอมพล ป. พิบูลสงครามทำรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ขณะในหลวงทรงอยู่ในเรือที่กำลังเข้ามาในน่านน้ำไทย และเสด็จถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2494
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2498 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบให้ เรื่องโปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้(ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ ชิต บุศย์ เฉลียว) ตามที่ราชเลขาธิการแจ้งมาว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้และมีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เตรียมการประหารนัก โทษทั้ง 3
- วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลาตี 2 หัวหน้ากองธุรการเรือนจำอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้นักโทษทั้งสามฟัง และแจ้งว่า “บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามแล้ว โดยพระองค์ได้ทรงขอให้คดีดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย ดังที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมชั้นสูงได้ตัดสินไปแล้ว" และประหารชีวิต นาย เฉลียว ด้วยปืนกล 20 นาทีต่อมาได้นำตัว นายชิต ไปประหาร ถัดมาอีก 20 นาที จึงนำตัวนายบุศย์ ไปประหาร หลังการประหารสิ้นสุดลงเผ่าไปตรวจศพใบหน้าศพที่วางเรียงกันสักครู่ ทำท่าคล้ายขออโหสิกรรม

เหตุการณ์ช่วงสวรรคต
9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุ)

พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง (สถานที่เกิดเหตุ)
- เวลาประมาณ 5.00 น. สมเด็จพระราชชนนีทรงปลุกบรรทมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อถวายพระโอสถให้เสวย จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมต่อ
- เวลาประมาณ 6.00 น. ทรงพระประชวรพระนาภี สมเด็จพระราชชนีเสด็จไปถวายน้ำมันละหุ่ง นม และบรั่นดีแต่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลแล้วเสด็จกลับ
- เวลาประมาณ 6.20 น. บุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเข้าเวรถวายงานที่พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รินน้ำส้มคั้นที่ห้องเสวยเพื่อคอยทูลเกล้าฯ ถวาย
- เวลาประมาณ 7.00 น. - 8.00 น. มหาดเล็กรับใช้ขึ้นไปบนพระที่เตรียมจัดตั้งโต๊ะเสวย
- เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ บุศย์เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตื่นพระบรรทมจึงนำน้ำส้มคั้นไปถวาย แต่พระองค์โบกพระหัตถ์ไม่เสวย แล้วเสด็จขึ้นพระแท่นบรรทมตามเดิม บุศย์จึงกลับมาประจำหน้าที่ที่หน้าห้องพระบรรทมตามเดิม
- เวลาประมาณ 8.30 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตื่นบรรทมเข้าห้องสรง ยื่นประทับในห้องแต่งพระองค์ บุศย์ถวายน้ำส้มพระองค์ไม่ทรงรับเสด็จเข้าห้องพระบรรทม บุศย์ถือน้ำส้มเดินตามเสด็จ พระองค์เสด็จขึ้นพระแท่นบรรทม โบกพระหัตถ์ให้บุศย์ออกไป บุศย์ถือน้ำส้มออกไป มานั่งอยู่ที่ระเบียงหน้าพระทวารเข้าห้องแต่งพระองค์
- เวลา 8.55 ชิต สิงหเสนี ขึ้นไปบนพระที่นั่ง (บางหนังสือเล่าว่า ชิต สิงหเสนีมากับพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร) เพื่อวัดขนาดดวงพระตราเพื่อเอาไปให้ช่างทำหีบดวงพระตรา ชิตกับบุศย์นั่งคอยอยู่หน้าห้องแต่งพระองค์
- เวลา 9.00 น. พระพี่เลื้ยงเนื่อง (เนื่อง จิตตดุลย์) ขึ้นไปบนพระที่นั่ง เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีจัดห้องแล้วเก็บฟิล์มหนังในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช
- เวลาประมาณ 9 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดชทรงเสวยพระกระยาหารเช้าพระองค์เดียว ณ มุขพระที่นั่งด้านหน้ามีมหาดเล็กรับใช้ 2 -3 คนเสด็จออกจากโต๊ะเสวยไปทางห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ทรงถวายพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จกลับห้องของพระองค์
- เวลาประมาณ 9.20 น. เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชิตสะดุ้งอยู่มองหน้าบุศย์และคิดหาที่มาของเสียงปืนอยู่ประมาณ 2 นาที จึงเข้าไปในห้องพระบรรทม พบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหลับอยู่เป็นปกติ แต่ปรากฏว่ามีพระโลหิตไหลเปื้อนพระศอและพระอังสะ (ไหล่) ด้านซ้าย ชิตจึงวิ่งไปที่ห้องบรรทมของสมเด็จพระราชชนนีแล้วกราบทูลว่า “ในหลวงยิงพระองค์”[9] สมเด็จพระราชชนนีตกพระทัย ทรงร้องขึ้นได้เพียงคำเดียวและรีบวิ่งไปที่ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทันที ชิต, พระพี่เลี้ยงเนื่อง, สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ, และจรูญได้วิ่งตามเสด็จสมเด็จพระราชชนนีไปติด ๆ
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (บรรทมอยู่ในห้องของพระองค์)
- ชิต สิงหเสนี (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
- บุศย์ ปัทมศริน (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
- ฉลาด เทียมงามสัจ (อยู่ห้องเสวยมุขพระที่นั่ง)
- จรูญ ตะละภัฎ (อยู่ในห้องสมเด็จพระบรมราชชนนี)
- พระพี่เลี้ยงเนื่อง (อยู่ในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช)
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (อยู่ในห้องเครื่องเล่น)
- สมเด็จพระราชชนนี (อยู่ในห้องของพระองค์)
- เมื่อไปถึงที่ห้องพระบรรทมนั้น ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียแล้ว ในลักษณะของคนที่นอนหลับธรรมดา มีผ้าคลุมพระองค์ตั้งแต่ข้อพระบาทมาจนถึงพระอุระ ที่พระบรมศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพบริเวณข้อพระกรซ้ายมีปืนพกกองทัพบกสหรัฐ ผลิตโดยบริษัทโคลต์ ขนาดกระสุน 11 มม. ซึ่งนายฉันท์ หุ้มแพร มหาดเล็กเป็นผู้ทูลเกล้าฯถวาย[11] วางอยู่ในลักษณะชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ปากกระบอกปืนชี้ไปที่ปลายพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนีได้โถมพระองค์เข้ากอดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอต้องพยุงสมเด็จพระราชชนนีไปประทับที่พระเก้าอี้ ปลายแท่นพระบรรทม
- จากนั้นสมเด็จพระราชชนนีจึงมีรับสั่งให้ตามพันตรี นายแพทย์ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์) แพทย์ประจำพระองค์ มาตรวจพระอาการของในหลวง ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องได้จับพระชีพจรของในหลวงที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย พบว่าพระชีพจรเต้นอยู่เล็กน้อยแล้วหยุด พระวรกายยังอุ่นอยู่ จึงเอาผ้าคลุมพระองค์มาซับบริเวณปากแผล และปืนกระบอกที่คาดว่าเป็นเหตุทำให้ในหลวงสวรรคตไปให้บุศย์เก็บพระแสงปืนไว้ ที่ลิ้นชักพระภูษา เหตุการณ์ช่วงนี้ได้ก่อปัญหาในการพิสูจน์หลักฐานในเวลาต่อมาเมื่อมีการจัด ตั้ง “ศาลกลางเมือง” เพื่อสอบสวนกรณีสวรรคต
- เวลาประมาณ 10.00 น. หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ได้มาถึงสถานที่เกิดเหตุและตรวจพระอาการของสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว พบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว โดยบริเวณปากแผลมีผ้าพันแผลพันอยู่ เมื่อแกะผ้าพันแผลออกไม่พบรอยเขม่าดินปืน นอกจากนี้พระบรมศพยังได้ถูกชำระในขั้นต้นไปแล้วตามคำสั่งของสมเด็จพระราช ชนนี[12] โดยสมเด็จพระราชชนนีได้ให้เหตุผลว่า จะได้ไม่เป็นการลำบากในการเตรียมงานถวายน้ำสรงพระบรมศพในช่วงบ่าย
- ในช่วงเวลาเดียวกัน พระยาเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล) สมุหพระราชพิธีได้เดินทางไปที่ทำเนียบท่าช้าง ที่พักของปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งข่าวการสวรรคต (ขณะนั้นปรีดีประชุมกับหลวงเชวงศักดิ์สงคราม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) พลตำรวจเอก พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) (อธิบดีกรมตำรวจ) และหลวงสัมฤทธิ์ สุขุมวาท (สัมฤทธิ์ สุขุมวาท) (ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล) เรื่องกรรมกรที่มักกะสันหยุดงานประท้วง)
- ประมาณ 11.00 น. ปรีดีมาถึงพระที่นั่งบรมพิมาน และสั่งให้พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) อัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ แถลงการณ์ของกรมตำรวจที่ออกมาในวันนั้นก็มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน
- เวลา 21.00 น. รัฐบาลเรียกประชุมรัฐสภาเป็น การด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท มหิดล และสรรหาผู้สืบราชสมบัติ ที่ประชุมได้ลงมติถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ขึ้นสืบราชสมบัติ เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" จากนั้นปรีดีประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
10 มิถุนายน 2489
- เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพพระบรมศพ ระหว่างการทำความสะอาดพระบรมศพเพื่อเตรียมการฉีดยานั้น คณะแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้พบบาดแผลที่พระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) ซึ่งเป็นบาดแผลที่ทะลุจากรูกระสุนปืนที่พระพักตร์บริเวณพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงระหว่างพระขนง (คิ้ว) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ที่จริงแล้วในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก และเนื่องจากบาดแผลที่ท้ายทอยเล็กกว่าที่พระนลาฏ ซึ่งโดยปกติลักษณะบาดแผลรูเข้าจะมีขนาดเล็กกว่ารูออก จึงเกิดข่าวลือว่าอาจจะถูกยิงจากข้างหลัง ทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยว่ารัฐบาลมีส่วนในการปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว กรมตำรวจจึงออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าได้ตั้งประเด็นการสวรรคตไว้ 3 ประเด็น คือ
- มีผู้ลอบปลงพระชนม์
- ทรงพระราชอัตวินิบาตกรรม (ปลงพระชนม์เอง)
- เป็นอุบัติเหตุ
11 มิถุนายน 2489
- กรมตำรวจยัง คงแถลงการณ์ยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตด้วยอุบัติเหตุ แต่ประชาชนยังคงมีความคลางแคลงใจต่อรัฐบาลอยู่เช่นเดิม ในวันนี้ทางกรมตำรวจได้นำปืนของกลางที่พบในวันสวรรคตไปให้กรมวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบ
- ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
18 มิถุนายน 2489
เนื่องจากมีความพยายามในการนำประเด็นสวรรคตมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง นำโดยพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มนิยมเจ้า โดยกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นผู้บงการให้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่๘ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจ นายปรีดีจึงสั่งไปตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น ซึ่งถูกเรียกสั้นๆว่า ศาลกลางเมือง เพื่อทำการสืบสวนกรณีสวรรคต[13]สถานที่เกิดเหตุ
เหตุเกิดที่ ชั้น2ของพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมหาราชวังสถานที่เกิดเหตุ คือในห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 8) จากการสอบสวนพบว่า ไม่พบร่องรอยการปีนป่ายจากภายนอก และทางเข้าออกห้องบรรทมมีแค่ทางเดียวในขณะนั้น โดย
- ด้านเหนือ ทางห้องทรงพระอักษร ถูกลงกลอนจากภายในตลอดและหลังเกิดเหตุ
- ด้านตะวันตก ติดกับห้องทรงพระสำราญ มีประตู 3 บาน แต่ถูกปิดตายทั้งหมด โดยลงกลอนจากฝั่งห้องบรรทม และฝั่งห้องทรงพระสำราญมีตู้โต๊ะเก้าอี้วางกั้นอยู่ เป็นอันว่า ด้านกลางนี้ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก คงเหลือแค่เพียงทางเดียว คือ
- ด้านใต้ ตรงส่วนห้องแต่งพระองค์ ซึ่งมีนายชิต นายบุศย์ นั่งเฝ้าอยู่ตลอดเวลาทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ[14]
- บันไดเวียน ด้านตะวันตก ที่อยู่ระหว่างห้องสมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระอนุชา แต่ถูกปิดตายไว้นานแล้วก่อนเกิดเหตุ[15] และทางเชื่อมห้องสมเด็จพระอนุชาและห้องเครื่องเล่นถูกปิดตาย แต่ประตูที่เหลือเปิดตลอดเวลา[16]
- บันไดเล็ก ติดกับห้องเครื่องเล่นเชื่อมชั้น 1 กับชั้น 2 และห้องใต้หลังคา เปิดใช้ตอน 7 โมง และจะถูกปิดเมื่อหมดเวลาคือไม่มีแขก เมื่อเปิดใช้จะมียามเฝ้าอยู่ที่ชั้นล่าง[17]
- บันไดใหญ่ เปิดตลอดเวลา เวลากลางคืนจะมียามเฝ้าชั้นบน วันที่เกิดเหตุ มียามเฝ้าอยู่ข้างล่างคนนึงคือนายพร หอมเนียม[18]
- ร.ท.ณรงค์ สายทอง เป็นผู้บังคับกองทหารมหาดเล็กที่รักษาพระที่นั่งบรมพิมาน ได้สอบถามทหารยามทั้ง (พลทหาร ขจร ยิ้มรักษา, พลทหาร บุญชู กัณหะ, พลทหาร รอย แจ้งเวหา, พลทหาร ร่อน กลิ่นผล, พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์) ที่อยู่เฝ้าประตูพระที่นั่ง ได้ความว่าหลังเสียงปืน ไม่มีคนวิ่งออกมจากพระที่นั่งไปข้างนอกเลย[20]
- พลทหารขจร ยิ้มรักษา เฝ้าอยู่ที่บันไดพระที่นั่งคู่กับพลทหารบุญชู ก่อนเสียงปืนไม่พบใครผ่านตนเองเข้าไปในพระที่นั่งสักคนเดียว เฝ้าอยู่จนได้ยินเสียงปืนแล้ว ก็ไม่พบว่ามีใครผ่านเข้าออก[21]
- พลทหารบุญชู กัณหะ เฝ้าอยู่ที่บันไดพระที่นั่งคู่กับพลทหารขจร หลังเสียงปืนไม่เห็นมีใครผ่านขึ้นลง จนถึง 11.00น. ก็ไม่พบเห็นผ่านเข้าออกเลย[22]
- พลทหารลอย แจ้งเวหา เฝ้าอยู่ที่บันไดข้างซ้ายด้านหลังพระที่นั่งคู่กับพลทหารร่อนอยู่ทางด้านขวา หลังเสียงปืนมีมหาดเล็กเชิญเครื่องเสวย 2 คนผ่านขึ้นลงบันไดกลาง นอกนั้นไม่พบใครผ่าน และก่อนเสียงปืนไม่มีคนแปลกปลอมผ่านไปเลย[23]
- พลทหารร่อน กลิ่นผล เฝ้าอยู่ทางบันไดหลังคู่กับพลทหารลอย หลังเสียงปืนเห็นมีคนเชิญเครื่องเสวย 2 คนผ่านขึ้นลงบันไดกลาง นอกจากนี้ไม่พบเห็นใครผ่านขึ้นลง[24]
- พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์ เฝ้าอยู่บันไดด้านตะวันตก มีประตูอยู่แต่ถูกปิดตายไว้ และก่อนถึงหลังเสียงปืน ไม่พบเห็นใครผ่านทางประตูที่ตนเฝ้าอยู่เลย[25]
- นายพร หอมเนียม เฝ้าอยู่บันไดอัฒจันทร์ใหญ่ หลังเสียงปืนเห็นนายมณี บูรณสุตและนายมังกร ภมรบุตรขึ้นๆ ลงๆ นอกจากนี้ไม่พบเห็นมีใครแปลกปลอม [26]
การชันสูตรพระบรมศพ
ช่วงแรกหลังเหตุการณ์ ทางรัฐบาลปรีดีในขณะนั้นไม่ได้มีความคิดที่จะต้องชันสูตรพระบรมศพ และกรมขุนชัยนาทฯเองก็ได้ห้ามปรามไว้[28] ต่อมารัฐบาลฯได้ออกประกาศในขณะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นอุปัทวเหตุ(โดยพระองค์เอง)[29] และได้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์[30] ไม่กี่วันต่อมาฝ่ายปฏิปักษ์ของปรีดีฯนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนิยมเจ้าได้นำมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยกล่าวหาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และมีนายปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้[31] เพื่อสยบข่าวลือและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ นายกปรีดีจึงประกาศจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนขึ้น และดำเนินการชันสูตรพระบรมศพ เพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่าง[32] การชันสูตรพระบรมศพเริ่มวันที่ 26 มิถุนายน 2489[33]สภาพพระบรมศพเริ่มแรก
ต้องอาศัยจากคำให้การบุคคลที่เข้าไปพบพระบรมศพกลุ่มแรก[34]ในการการวิเคราะห์ เนื่องจากว่าภายหลังเมื่อตำรวจไปถึงได้มีการเคลื่อนย้ายและขยับพระบรมศพและวัตถุในที่เกิดเหตุไปจากเดิมแล้ว[35]สภาพพระบรมศพ ทรงบรรทมหงายพิงพระเขนย(หมอน)คล้ายคนนอนหลับอย่างปกติ มีผ้าคลุมตั้งแต่พระอุระ(อก)ตลอดจนถึงข้อพระบาท(ข้อเท้า) มีพระโลหิต(เลือด)ไหลโทรมพระพักตร์(หน้า)ลงมาที่พระเขยนและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียร(หัว)ตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางพระนลาฏ(หน้าผาก) ตรงตรงเหนือพระขนง(คิ้ว)ซ้าย มีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ4ซม. พระเนตร(ตา)ทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ฉลองพระเนตร(แว่นตา) พระเกศา(ผม)แสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์(ปาก)ปิด พระกร(แขน)ทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7ซม. มีปืนของกลางขนาดลำกล้อง 11มม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนานและห่างพระกร 1นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร(ข้อศอก)
ผลการชันสูตรพระบรมศพ
การชันสูตรพระบรมศพเริ่มในวันที่ 26 มิถุนายน 2489 โดยมี นพ.สุด แสงวิเชียร และ นพ.สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ลงมือผ่าตัดพระบรมศพด้วยกัน และมี นพ.สงัด เปล่งวานิช เป็นผู้คอยจดบันทึกผล[37]- ผลตรวจสอบสารพิษ ไม่พบว่า ร.๘ได้รับสารพิษแต่อย่างใด[38]
- วิถีกระสุนเข้าทางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณกลางหน้าผากเหนือพระขนง(คิ้ว)ซ้ายเล็กน้อย และ ทะลุออกทางพระปฤษฎางค์ (ท้ายทอย) โดยมีวิถีเฉียงจากบนลงล่าง และมีทิศทางเอียงจากซ้ายไปขวา[39]
- บาดแผลที่พระนลาฎ เป็นรูปกากบาท หนังฉีกแยกเป็น 4 แฉก ทั้ง 4 แฉกจดกัน ศูนย์กลางของแผลกากบาทอยู่ที่บริเวณกลางหน้าผากเหนือคิ้วซ้ายประมาณ 1 เซนติเมตร[40]
- ปากกระบอกปืนต้องกดชิดติดบริเวณบาดแผลเมื่อลั่นไก ไม่เช่นนั้นก็ห่างไม่เกิน 5 เซนติเมตร[41]
- ไม่พบอาการอาการ “คาดาเวอริค สปัสซั่ม” (Cadaveric Spasm) ในพระบรมศพ กล่าวคือเป็นอาการเกร็งค้างของกล้ามเนื้ออันเกิดจากสมองตายเฉียบพลัน (ในกรณีนี้คือถูกกระสุนปืน) เนื่องจากส่วนสมองของพระบรมศพถูกกระสุนทำลายฉับพลัน[42]ซึ่งอาจแสดงให้เห็นชัดเจนจากบริเวณ แขน ขา มือ นิ้วมือ เป็นต้น
ความเห็นแพทย์จากการชันสูตร
หลังชันสูตรพระบรมศพ คณะแพทย์ได้ลงความเห็นไว้ว่า- ลอบปลงพระชนม์ 16 เสียง
- ปลงพระชนม์เอง 4 เสียง
- อุบัติเหตุ 2 เสียง
การวินิจฉัยของศาล
ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ได้ทำการสืบสวนต่อ โดยพุ่งเป้าไปที่เป็นการลอบปลงพระชนม์ โดยมีนายชิต นายบุศย์ นายเฉเลียว นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย เป็นจำเลย จากนั้นอัยการโจทย์ได้นำสืบ คดีขึ้นสู่ศาล ทั้ง3ศาลวินิจฉัยความเป็นไปได้ดังนี้ จากความเป็นไปได้ทั้ง4 แบ่งเป็นการกระทำโดยพระองค์เอง
- ตั้งใจ (ฆ่าตัวตาย)
- ไม่ตั้งใจ (อุบัติเหตุ)
- ตั้งใจ (ลอบปลงพระชนม์)
- ไม่ตั้งใจ (อุบัตุเหตุ)
ศาลชั้นต้น
-
- กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ(ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[47]
- กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ(อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[48]
- กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ(ลอบปลงพระชนม์) ศาลมั่นใจว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[49]
- กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ(อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[50]
ศาลชั้นอุทธรณ์
-
- กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ(ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[51]
- กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ(อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าเป็นไปไม่ได้[52]
- กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ(ลอบปลงพระชนม์) ศาลเห็นว่าป็นการลอบปลงพระชนม์[53]
- กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ(อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่าให้ตัดข้อนี้ทิ้งโดยไม่มีทางที่จะโต้แย้งได้[54]
ศาลชั้นฎีกา
-
- กรณีที่ 1 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยตั้งใจ(ฆ่าตัวตาย) ศาลเห็นว่ามิใช่การกระทำโดยพระองค์เอง[55]
- กรณีที่ 2 การกระทำโดยพระองค์เอง โดยไม่ตั้งใจ(อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลเห็นว่ามิใช่การกระทำโดยพระองค์เอง[56]
- กรณีที่ 3 การกระทำโดยผู้อื่น โดยตั้งใจ(ลอบปลงพระชนม์) ศาลเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[57]
- กรณีที่ 4 การกระทำโดยผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจ(อุบัติเหตุ เช่นปืนลั่น) ศาลฎีกาไม่ได้กล่าวถึงข้อนี้[58]
ความเห็นแย้งศาลอุทธรณ์
หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ทำความเห็นแย้งไว้ในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า คดีนี้ควรพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสาม[59] นอกจากนี้ หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ยังให้ความเห็นว่าอาจเป็นอุบัติเหตุโดยพระองค์เอง ดังที่กล่าวไว้ในในเอกสารความเห็นแย้ง[60] และกล่าวย้ำอีกครั้งในบทสัมภาษณ์ในอีกหลายปีให้หลัง[61]ผลกระทบ
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชสืบราชสมบัติเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"
- คดีนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างสำคัญประการหนึ่งของรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เนื่องจากรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรีคนถัดจากปรีดี) ไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองสายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากการเมืองไทย ภายหลังรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
การตั้งคณะกรรมการการสอบสวน
วันที่ 18 มิถุนายน ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อสอบหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สามพระองค์ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเลขานุการ และนายสอาด นาวีเจริญ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตการดำเนินคดี
ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ตำรวจได้ทำการจับกุม นายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว และออกหมายจับ นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย จากพยานและหลักฐานที่มีอยู่ขณะนั้น ศาลนี้เชื่อว่า นายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ได้ร่วมสมคบคิดกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘[62] จึงพิพากษาดังนี้- ศาลชั้นต้น มีมติให้ประหารชีวิต นายชิต สิงหเสนี โดยให้ยกฟ้อง นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายเฉลียว ปทุมรส
- ศาลอุทธรณ์ มีมติให้ประหารชีวิต นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน โดยให้ยกฟ้อง นายเฉลียว ปทุมรส
- ศาลฎีกามีมติ มีมติให้ประหารชีวิต นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ ด้วยการยิงเป้าที่เรือนจำบางขวาง
ทฤษฎีและความเชื่อ
ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคตอย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง
สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่
ผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต
- สถานการณ์ในขณะนั้นพุ่งเป้าไปที่ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งประเด็นนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากปรีดีขณะนั้นมีศัตรูทางการเมืองอยู่จำนวนมากที่ต้องการจะกำจัดออก ไป เช่น กลุ่มทหารสายจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สูญเสียอำนาจหลังร่วมกับประเทศญี่ปุ่นนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขณะนั้น[ต้องการอ้างอิง]
- ในหนังสือ The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน ซึ่งเป็นแขกที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงระยะหนึ่ง ได้เขียนไว้ว่า สายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ แต่ปัจจุบันมีหลักฐาน[ต้องการอ้างอิง]ที่ ไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่า นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กับกรุงเทพเลย ในขณะที่ในหลวงอานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์ ข้อสันนิษฐานนี้จึงตกไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น